วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เริ่มต้นการทำงาน Adobe Premier Pro




เมื่อเราได้รู้จักเครื่องมือการทำงานอย่างคร่าว ๆ ไปบ้างแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาลงรายละเอียดกับขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ รวมถึงการใช้เครื่องมือบางอย่างสร้างงานวีดีโอเบื้องต้น ซึ่งจะเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในภาพรวมในการตัดต่อจริงผ่านไฟล์วิดีโอสั้น ๆ

Workflow การตัดต่อสาหรับ Post-Production
Workflow หรือขั้นตอนการทำงานสำหรับภาพการตัดต่อนั้นไม่ได้เป็นขั้นตอนที่ตายตัวเสมอไป ขึ้นอยู่กับงานที่เราวางแผนไว้มากกว่าจะให้ลำดับภาพออกมาเป็นอย่างไร และต้องการให้ผลงานท้ายสุดนั้นออกมาเป็นอย่างไรบ้าง แต่เพื่อความเข้าใจในภาพรวม จะขอเสนอ Workflow ที่เป็นพื้นฐานการตัดต่อในส่วนของงาน Post Production ที่ครอบคลุมมากที่สุด โดยมีลำดับการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สร้างสคริปต์และโครงเรื่อง โดยคิดว่าต้องการสื่อสารสิ่งใดออกมา และคิดเป็นโครงเรื่องไว้ก่อน เราอาจเลือกใช้โปรแกรม Adobe Story ในการสร้างสคริปต์ได้
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำ Storyboard เป็นการนำโครงเรื่องมาจัดลำดับภาพให้เป็นช็อต ๆ เพื่อจะนำมาจัดเรียงลำดับภาพยนตร์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ในขั้นตอนนี้เราอาจจะวาดภาพโครงร่างคร่าว ๆ เป็นช็อตไว้ หรืออาจจะเขียนลำดับภาพว่าจะเรียงแต่ละช็อตก่อนหลังอย่างไร แต่เนื่องจากปัจจุบันความรวดเร็วทางเทคโนโลยีของกล้องดิจิตอลช่วยเราได้มาก คือถ่ายภาพนิ่งไว้ก่อนถ่ายทำจริงเพื่อจะนำภาพนิ่งนั้นมาจัดเรียงเป็น Storyboard แบบรวดเร็ว
ขั้นตอนที่ 3 เริ่มสร้างโปรเจ็กต์ เป็นการใช้งานโปรแกรมโดยเริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ขึ้นมา เพื่อทำงานกับฟุตเทจและการตัดต่อ รวมทั้งสำหรับเก็บรวบรวมชิ้นงานต่าง ๆ ที่เราสร้างไว้ ในส่วนนี้หน้าต่าง New Sequence ขึ้นมาให้เราตั้งค่าชิ้นงาน เราสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อน แล้วจึงค่อยตั้งค่าภายหลังได้เมื่อเริ่มต้นทำงานจริง ๆ
ขั้นตอนที่ 4 จับภาพวิดีโอ (Capture) หรือนำเข้าฟุตเทจ (Import) หากฟุตเทจของเรามาจากกล้องที่เป็นระบบเทปบันทึก ก็ต้องทำการจับภาพวิดีโอก่อนผ่านทางโปรแกรม Adobe Premiere Pro หรือเลือกจับภาพโดยโปรแกรม Adobe On Location ก็ได้ เพื่อสร้างให้ฟุตเทจเหล่านั้นเป็นไฟล์สำหรับนำเข้ามาตัดต่อ แต่ในกรณีที่ฟุตเทจมาจากกล้องวิดีโอระบบฮาร์ดดิสก์ หรือมาจากแผ่นวีซีดี/ดีวีดี หรือมาจากกล้องดิจิตอล ก็สามารถนำฟุตเทจเข้ามาได้เลยโดยตรง
ขั้นตอนที่ 5 ตั้งค่าซีเควนซ์ เป็นการตั้งค่าซีเควนซ์สาหรับทำงานให้ตรงกับฟุตเทจที่เราเตรียมไว้โดยให้มีคุณสมบัติวิดีโอที่สอดคล้องกัน สามารถดูคุณสมบัติวิดีโอของฟุตเทจจากพาเนล Project ได้
         ขั้นตอนที่ 6 จัดเรียงฟุตเทจตาม Storyboard และตัดต่อ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ไม่ตายตัวว่าเราจะทำอะไรก่อนหลัง แต่หลักสำคัญคือนำฟุตเทจที่เป็นไฟล์วิดีโอและภาพมาเรียงลำดับตาม Storyboard และขณะเรียงก็พรีวิวดูเนื้องานด้วยว่าส่วนใดใช้หรือไม่ใช้ ถ้าไม่ใช้ก็ตัดทิ้งไป เพื่อจะให้ส่วนที่ใช้งานวางต่อเนื่องกับคลิปต่อไป


ขั้นตอนที่ 7 ใส่ไตเติ้ล สำหรับไตเติ้ลนั้น อาจไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องทำขั้นตอนนี้ ขึ้นอยู่กับการวางแผนการสื่อสารวิดีโอ โดยไตเติ้ลคือกราฟิกและตัวอักษรที่ใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของชิ้นงาน เช่น ชื่อเรื่องตอนเริ่มต้นหรือปิดท้าย ไตเติลที่อธิบายภาพในเนื้องานหรือสื่อความหมาย เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 8 ตกแต่งเอฟเฟ็กต์และทรานซิชัน ทำการตกแต่งเอฟเฟ็กต์ให้ไฟล์วิดีโอและใส่ทรานซิชัน (เอฟเฟ็กต์สำหรับเปลี่ยนฉาก) ตามต้องการ ส่วนนี้เป็นงานที่เราต้องใช้ความคุ้นเคยและการฝึกฝนบ่อย ๆ เพื่อให้เราทราบว่าควรเลือกใช้เอฟเฟ็กต์อย่างที่จะทำให้วิดีโอดูแล้วลื่นไหลไม่สะดุด
ขั้นตอนที่ 9 ตกแต่งและสร้างสรรค์เสียง เป็นส่วนที่เราเรียกว่าการมิกซ์เสียงนั่นเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ขึ้นอยู่กับการวางแผนงานด้วยเช่นกัน บางทีเราอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติม หรือบางกรณีต้องการใส่เพลงประกอบเข้าไป หรือเสียงเพิ่มเติม ขั้นตอนนี้จะช่วยให้เราสร้างภาพยนตร์ได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ถ้ารู้จักใช้เสียงต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์
ขั้นตอนที่ 10 เผยแพร่งานวิดีโอ (Export) ขั้นตอนสุดท้ายคือการ Export ชิ้นงานที่เราสร้างไว้ในโปรเจ็กต์ เพื่อให้กลายเป็นไฟล์วิดีโอสำเร็จที่สามารถนำไปเปิดโดยโปรแกรม Player ต่าง ๆ ได้หรือนำไปอัพโหลดขึ้นอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ไฟล์วิดีโอต่อไปได้ ซึ่งเราควรจะมีความรู้เกี่ยวกับ Codec ภาพละเอียดหรือหยาบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนกำหนดคุณภาพงานที่สำคัญที่สุด
 










ทดลองตัดต่อบน Adobe Premiere Pro
จาก Workflow ที่เรากล่าวถึงในหัวข้อที่ผ่านมาอาจจะมองไม่เห็นภาพและวิธีการได้ชัดเจน ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะใช้ขั้นตอนดังกล่าวมาสร้างงานภาพยนตร์แบบง่าย ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจเป็นการปูพื้นฐานก่อนจะลงลึกในการใช้งานแต่ละส่วนกัน ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 สร้างสคริปและโครงเรื่อง
เราจะสร้างงานง่าย ๆ เป็นวิดีโอเกี่ยวกับดอกไม้และธรรมชาติ โดยให้วิดีโอนี้ไม่มีค่าบรรยายใด นอกจากจากชื่อเรื่อง แสดงภาพดอกไม้และธรรมชาติเรียงต่อกัน ขั้นตอนนี้ให้เขียนโครงเรื่องไว้ดังนี้
ชื่องาน :          Flowers & Nature
Concept :       ดอกไม้ธรรมชาติ
รูปแบบ :         ภาพวิดีโอประกอบดนตรี
ระยะเวลา :      ไม่เกิน 1 นาที
รายละเอียด :    ไม่มีคาอธิบาย / มีแต่ไตเติลตอนแรก / ตัดเสียงหลักออกใส่ซาวน์ดนตรีเข้าไป
สถานที่ถ่ายทำ : ที่บ้าน

ขั้นตอนที่ 2 จัดทำ Storyboard
ต่อมาเป็นการลงรายละเอียดในเรื่องจำนวนที่จะถ่ายทำ และจะจัดเรียงลำดับภาพยนตร์อย่างไรแต่ละช็อตจะออกมาอย่างไรบ้าง ในตัวอย่างเลือกถ่ายภาพนิ่งไว้ก่อนแล้วมาจัดเป็น Storyboard ดังนี้Flowers & Nature Storyboard

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น