วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทำความเข้าใจกับการตัดต่อวีดีโอ




หน่วยที่ 1 ทำความเข้าใจกับการตัดต่อภาพยนตร์



           ความรู้ด้านการสร้างภาพยนตร์ เป็นพื้นฐานนักตัดต่อต้องทำความเข้าใจก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อจะเข้าใจกระบวนการและขั้นตอนการทำงานแบบสากล เมื่อมีพื้นฐานแล้ว ต่อไปเราจะสามารถวางแผนการสร้างผลงานได้อย่างมืออาชีพ แม้ว่างานนั้นจะเป็นเพียงแค่โฮมวิดีโอก็ตาม แต่เมื่อมีพื้นฐานการเตรียมงานที่ดี ก็จะทำให้วิดีโอหรือภาพยนตร์ชุดนั้นมีความน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ บทนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นให้กับผู้อ่านได้ทาความเข้าใจก่อนที่เราจะลงมือตัดต่อกันจริง ๆ


 รู้จักกับการตัดต่อภาพยนตร์
           การตัดภาพยนตร์ คือ การลำดับภาพจากภาพยนตร์ที่ถ่ายทำไว้โดยนำแต่ละฉากมาเรียงกันตามโครงเรื่องหรือ Storyboard จากนั้นใช้เทคนิคการตัดต่อทำให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน ทำให้ได้ภาพยนตร์ที่สื่อสารเรื่องราวที่ต่อเนื่องและสมบูรณ์ ถือได้ว่าการตัดต่อภาพยนตร์เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างภาพยนตร์ก่อนการนำไปเผยแพร่



           ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เราวางโครงเรื่องไว้ว่าจะทำสารคดีการทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตจนกระทั่งแพ็คขายสำเร็จรูป ซึ่งในตัวอย่างเริ่มต้นฉายภาพจากเป็นเมล็ดแข็ง ๆ ที่เพิ่งเก็บมาแล้วนามาคั่ว กะเทาะเปลือก ตากแห้ง แล้วนำไปลอกออกจนได้เมล็ดที่ขาวสะอาด พร้อมนำไปประกอบอาหารหรือแพ็คขายต่อไป เราจึงได้แสดงภาพวิดีโอ 3 ภาพก่อนนำเข้าสู่รายการโดยภาพที่ 1 เป็นเมล็ดแข็งก่อนกะเทาะ ภาพที่ 2 เป็นภาพเมล็ดแห้งที่ตากอยู่ และภาพสุดท้ายเป็นภาพเมล็ดที่พร้อมใช้ประกอบอาหาร นำมาเรียงต่อกันเป็นลำดับภาพ แล้วผ่านกระบวนการตัดต่อ จนสามารถฉายเป็นสารคดีได้






ประเภทของการตัดต่อภาพยนตร์

           การตัดต่อภาพยนตร์มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการตัดต่อกับเนื้อเทปด้วยเครื่องตัดเทปจนกระทั่งมาถึงการตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการตัดต่อได้ 2 แบบ ดังนี้

          1.  การตัดต่อแบบ Linear เป็นการตัดต่อรูปแบบเก่า คือการตัดจากม้วนเทปวิดีโอโดยนาแถบเทปมาเรียงตามลาดับเรื่อง ผ่านเครื่องเล่นเทปอย่างน้อย 2 ตัวเพื่อทำการบันทึกเทปต้นฉบับไปยังเทปเปล่าที่เตรียมไว้ การตัดต่อนั้นต้องเริ่มจากต้นเรื่องไปจนจบ ไม่สามรถกระโดดข้ามไปทำในส่วนอื่น ๆ ได้ดังนั้น จึงเรียกการตัดต่อแบบนี้ตามลักษณะการทำงานที่เป็นเส้นตรงว่าการตัดต่อแบบ Linear” แต่ไม่นิยมใช้วิธีนี้ในการตัดต่อในปัจจุบันแล้ว
        2.  การตัดต่อแบบ Non-Linear เป็นการตัดต่อที่พัฒนามาจากการตัดต่อแบบ Linear โดยมุ่งแก้ไขปัญหาเดิมที่ไม่สามารถตัดต่อตามจุดต่าง ๆ หรือแก้ไขแบบกระโดดไปมาได้ จุดเด่นของการตัดต่อแบบนี้ จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักในการทำงานทำให้สามารถแก้ไขหรือเลือกตัดต่อในจุดเวลาใดก่อนก็ได้ มากกว่านนั้นยังรองรับการจัดทาเป็นสื่อในรูปแบบดิจิตอลได้ดีอีกด้วย ทั้งยังสะดวกในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์สร้างสื่อดิจิตอลต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น กล้องดิจิตอลวิดีโอ กล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ การ์ดตัดต่อ เครื่องเขียน/อ่านแผ่นบันทึกข้อมูล เป็นต้น

ขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์

          ในการจะสร้างภาพยนตร์แต่ละเรื่องหรือรายการดี ๆ สักรายการหนึ่งจะต้องผ่านกระบวนการมากมายจนกว่าจะมาเป็นภาพยนตร์ที่ฉายออกสู่สายตาผู้ชม ซึ่งสามารถแบ่งขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากลตามวิธีการทางานเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
รูป ขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์

Pre – Production
          เป็นขั้นตอนการเตรียมงานสร้างภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่สำคัญ เรียกได้ว่าเป็นการวางแผนการทำงานทั้งเรื่อง รวมทั้งการวางตัวผู้ทำงานและประสานงานทั้งหมด โดยส่วนมากจะเรียกช่วงนี้กันสั้น ว่าพรีหรือพรีโพรในเนื้อหาตอนนี้จะไม่กล่าวถึงส่วนการสนองประมาณการถ่ายทำการคำนวณค่าใช้จ่ายและการวางแผนค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่จะกล่าวถึงขั้นตอนการทำงานเป็นหลัก ซึ่งขั้นตอนอาจไม่ตายตัวมากนักขึ้นอยู่กับทีมการวางแผนงาน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีลำดับ ดังนี้
          l. คัดเลือกบทภาพยนตร์ รวมไปถึงการคิดบทใหม่หรือไปเลือกบทที่มีอยู่แล้วมาใช้งานโดยบทที่ได้จะเป็นรูปแบบบรรยาย มีบทพูด มีการบรรยายฉากต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกบทภาพยนตร์นี้ว่า “screenplay”
          2. ปรับให้เป็นบทสาหรับถ่ายทา เป็นการนำบทมาตีย่อยลงไป โดยระบุให้บทถูกแยกออกเป็นช็อตๆ ใส่รายละเอียดเรื่องมุมกล้องและการเคลื่อนที่ของกล้องขนาดภาพในการถ่ายทำ
          3. ช่วงประสานงานการถ่ายทา อาจแบ่งออกเป็นการทำงานหลายสายงานด้วยกันแต่เพื่อกระชับความเข้าใจขอสรุปรวมเป็นขั้นตอนเดียวกัน ขั้นตอนนี้มีตั้งแต่
                 Ø หาทุนสร้าง
                 Ø ติดต่อผู้อานวยการสร้าง
                 Ø การหาโลเคชันที่เหมาะสม (Scout Locations)
                 Ø การจัดหานักแสดง (Audition)
                 Ø การจัดหาทีมถ่ายทา
                 Ø การทำตารางการถ่ายทำแบบคร่าวๆ เพื่อวางแผนและกำหนดเวลาในการถ่ายทำ
          ซึ่งในกองถ่ายบางที่อาจทำงานคู่ขนานกันไป โดยกระจายงานให้แต่ละสายงานออกไปประสานสำหรับแต่ละด้าน เพื่อความรวดเร็ว
          4. จัดทำ Storyboard ในส่วนนี้จะเป็นการแปลงรายละเอียดจากตัวหนังสือเป็นภาพร่าง ๆ เพื่อมองให้ชัดขึ้นว่าแต่ละฉากมีลักษณะอย่างไร อาจจะเกิดจากการวาดหรือการถ่ายภาพเพื่อทาเป็นช็อตคร่าว ๆ ไว้ก่อนโดยขั้นตอนนี้ต้องประสานงานกับทีมค้นหาฉาก (Location), ทีมเสื้อผ้า (Costume) และทีมจัดเตรียมอุปกรณ์อื่น ๆ สาหรับประกอบฉาก ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้เวลานานสักหน่อย เพื่อสร้างโครงร่างฉากจาลองให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด และเพื่อความรวดเร็วใน
ขั้นตอนการถ่ายทำ ต่อไปนี้

รูป ตัวอย่าง Story

          5. วางตารางการถ่ายทา สำหรับขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะรวบรวมทั้งบท ฉาก นักแสดง ทีมงาน ช่วงเวลาถ่ายทำ ไว้ด้วยกันเรียกว่าเป็นการล็อกคิวทั้งหมดทำเป็น ตารางเวลาในลักษณะ Timeframe หรือ Shooting Schedule เพื่อจะเข้าสู่ขั้นต่อการสร้างภาพยนตร์ต่อไปในช่วง Production

Production
          เป็นขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นช็อต (Shot) กล่าวคือเป็นการถ่ายทำตามตารางการถ่ายทำในแต่ละช่วงของบท บางครั้งอาจมีสลับการถ่ายทำบ้างขึ้นอยู่กับหลายกรณี ทั้งความไม่พร้อมของนักแสดง อุปกรณ์ประกอบฉากบางอย่างยังไม่เสร็จ สภาพอากาศไม่เป็นใจ ในขั้นตอนนี้เป็นการลุยทำงานแบบที่ต้องปรับตารางการถ่ายทำไปเรื่อย เพื่อให้งานเดินต่อไปได้

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนจะลงมือถ่ายทำคือ การระบุรายละเอียดเรื่องภาพให้ชัดเจน อาทิ เลือกใช้กล้องอะไรถ่ายทำ ฟอร์แมตของฟิล์มภาพยนตร์เท่าไหร่ หรือใช้ฟอร์แมตของภาพวิดีโออย่างไร ขนาดเฟรมของภาพเท่าไหร่ จะเลือกใช้อัตราส่วนของภาพเท่าไหร่ ความยาวของภาพยนตร์จะออกมาทั้งหมดกี่ชั่วโมง กี่นาที ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะสร้างจุดเริ่มต้นของงานเผื่อไปถึงการแพร่ภาพในขั้นตอน Post-Production เนื่องจากการเลือกใช้ตัวแปรต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเกี่ยวเนื่องกับการตัดต่อและแพร่ภาพ ซึ่งเราต้องเลือกใช้ระบบเดียวกันหรือฟอร์แมตเดียวกัน

Post - Production
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างภาพยนตร์ โดยการนาผลงานแต่ละช็อตที่ถ่ายทาไว้มาตัดต่อให้มีความต่อเนื่องกันตาม Storyboard และทำการปรับแต่งภาพด้วยเอฟเฟ็กต์ต่างๆ การเพิ่มข้อความการแต่งสีสันให้ภาพวิดีโอ ตลอดจนกระทั่งการใส่เสียงประกอบ การสร้างความต่อเนื่องของฉาก จนถึงขั้นตอนการแปลงเนื้องานออกสู่สายตาผู้ชมโดยขั้นตอนเหล่านี้จะทาในโปรแกรมตัดต่อภาพยนตร์ทั้งหมด


รูป การตัดต่อภาพยนตร์ในโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ

แม้ว่าขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ที่ได้กล่าวมาจะมีความละเอียดและมีขั้นตอนย่อยมากมายแต่ถ้ามองในมุมมองของนักตัดต่อภาพยนตร์แล้ว จะมองการสร้างภาพยนตร์เป็นเพียงการนาไฟล์วิดีโอทั้งหมดหลักการถ่ายทำ เข้ามาลาดับเรื่องราวแล้วนามาตัดต่อให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นเสร็จสมบูรณ์เพื่อจะนำไปเผยแพร่ได้ โดยเนื้อหาในเล่มนี้จะกล่าวถึงการสร้างงานผ่านคอมพิวเตอร์และตัดต่องานแบบ Non-Linear หรือเรียกขั้นตอนการทำงานว่าเป็นการทำงาน Post-Production” ดังนี้

รูป ขึ้นตอนการสร้างภาพยนตร์ผ่านการตัดต่อแบบ Non-Linear

วางโครงเรื่อง
          เป็นการวางแผนว่า ต้องการให้ภาพยนตร์ออกมาแนวไหน เรื่องราวมีลาดับเป็นอย่างไรซึ่งเนื้อเรื่องทั้งหมดจะอ้างอิงจากบทภาพยนตร์เป็นหลัก หลังจากนั้นจะรวบรวมสิ่งที่คิดออกมาวางโครงเรื่องอย่างคร่าว ๆ แล้ววาดเป็นรูปร่างขึ้นมา โดยเรียกโครงร่างนี้ว่า “Storyboard” ซึ่งนามาจาก Storyboard ที่มีอยู่ในการเตรียมภาพยนตร์ช่วง Pre-Production มาใช้
จัดเตรียมภาพยนตร์
          เป็นขั้นตอนการเตรียมไฟล์ภาพยนตร์ที่รวบรวมไว้หรือได้ถ่ายเก็บไว้เป็นช็อต ๆ มาประกอบกันเป็นเรื่องราวตาม Storyboard โดยเรียงลาดับตามเหตุการณ์ วันเวลาและข้อกาหนดอื่น ๆ ดังที่ตั้งไว้ และนาไฟล์งานเข้ามา
ตัดต่อภาพยนตร์
          เป็นการนาไฟล์ภาพยนตร์ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อและเพิ่มเทคนิคต่าง ๆ เข้าไป เช่น เทคนิคการเปลี่ยนฉาก การเร่งความเร็วให้ภาพยนตร์ เพื่อให้ภาพยนตร์สมบูรณ์และเป็นไปตาม Storyboard ที่ได้เตรียมไว้ก่อนหน้านั้น
แปลงไฟล์ภาพยนตร์
ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการนาไฟล์ภาพยนตร์ที่ตัดต่อเสร็จแล้วมาแปลงเป็นไฟล์วิดีโอ จากนั้นนาไปบันทึกในรูปแบบของสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์เพื่อนาไปเผยแพร่ต่อไป
ดาวน์โหลดเอกสารอ่านได้ที่ -->   http://upload.siamza.com/1762027




























































 























































































































































































































































































































































































































































































1 ความคิดเห็น: